logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • “มาตรวัดวิทยา” คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

“มาตรวัดวิทยา” คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

โดย :
ยารินดา อรุณ
เมื่อ :
วันอังคาร, 05 มกราคม 2564
Hits
1724

          “มาตรวิทยา” คำนี้อาจฟังดูไม่คุ้นหูเท่าไรนัก แต่ก็พอจะเดาได้บ้างใช่ไหมว่า เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด ซึ่งจะว่าไปแล้ว “มาตรวิทยา” ก็เกี่ยวข้องกับทุกสิ่งทุกอย่างเลย โดยมักจะเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ “กระบวนการ” มากกว่าที่จะระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และกระบวนการที่ว่านี้ก็คือ กระบวนการมาตรฐานของการ ชั่ง ตวง และการวัด นั่นเอง

11498 1
ภาพตราสัญลักษณ์สำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Metric_seal.svg , Ssolbergj

          มาตรวิทยา(Metrology) คือ วิชาที่ว่าด้วยการอ้างอิงเหตุผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ ทดลองเพื่อให้ผลของการชั่ง ตวง วัด ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับของสังคมโลก จะว่าไปแล้วก็เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียว  เพราะกล่าวอย่างง่ายแบบรวบรัดแล้ว มาตรวัดวิทยาก็คือการกำหนดมาตรฐานของกระบวนการและหน่วยการชั่ง ตวง วัด ให้เป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับนั่นเอง

          ในสมัยโบราณ แต่ละประเทศมีหน่วยการชั่งตวงวัดที่ต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดค่ามาตรฐานในการชั่ง ตวง วัด ขึ้นเพื่อใช้ร่วมกันทั่วโลก และเมื่อได้หน่วยวัดที่เข้าใจตรงกันแล้ว จึงพบว่าในการชั่ง ตวง วัด แต่ละครั้งก็จะมีความคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายๆอย่าง จนต้องมีการตั้งค่าสากลขึ้นเป็นแม่แบบ แล้วเอาค่าจากการวัดครั้งอื่นๆที่มาจากหลายประเทศทั่วโลกมาเปรียบเทียบกันกับแม่แบบสากลนี้

          มาตรวิทยาเริ่มจากการกําหนดรายละเอียดของหน่วยวัด มาตรฐานด้านการวัด ที่เป็นสากล เพื่อเป็นที่อ้างอิงของกิจกรรมการชั่ง ตวง วัดต่างๆตามข้อตกลงร่วมกันในรูปแบบ “สนธิสัญญาเมตริก” (The Metre Convention) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ทุกประเทศทั่วโลกให้การยอมรับและนำไปใช้

          ส่วนประเทศไทยได้มีการออกพระราชบัญญัติการพัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ.2540 เพื่อบังคับใช้ในประเทศ พร้อมกับได้ให้ความหมายของ มาตรวิทยาไว้ว่า “เป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสอบเทียบ ปรับตั้ง ความถูกต้องของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาณหรือวิเคราะห์ทดสอบ” และได้ตั้ง “สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ” ขึ้นใน พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมการวัดในประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผลของการวัดเป็นยอมรับของนานาประเทศ

กระบวนการที่ดำเนินการโดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ

          การดำเนินการของสถาบันมาตรวิทยานั้น นอกจากจะใช้วัดมาตรฐานของสิ่งของและกระบวนการที่เป็นกิจกรรม ชั่ง ตวง วัด ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ยังใช้เป็นเกณฑ์ทดสอบมาตรฐานสากลของเครื่องมือและกระบวนการที่ใช้ประเมินอีกด้วย ซึ่งทำได้โดย ทำการทดสอบการวัดค่าได้ของเครื่องมือและกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงกระบวนการสุดท้าย

          แล้วทดสอบการวัดค่านั้นใหม่โดยการทวนซ้ำจากกระบวนการสุดท้ายมากระบวนการเริ่มแรกอีกที ทุกกระบวนการตั้งแต่แรกจนทวนเสร็จ มีการวัดเทียบจากค่ามาตรฐานทั้งหมดตลอดทุกกระบวนการ โดยการเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากลที่ตั้งไว้โดยทวนซ้ำกลับไปกลับมานี้ เรียกว่า “การสอบกลับได้”

          ซึ่งจะมีทั้งการสอบกลับได้ของเครื่องมือและกระบวนการชั่ง ตวง วัด ไปจนถึงการสอบกลับได้ของกระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ทดสอบนั้นอีกทีหนึ่งด้วย เพื่อตั้งค่าให้เครื่องมือและกระบวนการชั่ง ตวง วัด มีความแม่นยำสูง ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

มาตรวิทยากับการนำไปใช้งานในระบบคุณภาพ

          ปัจจุบันนี้การรับรองระบบคุณภาพเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับภาคอุตสาหกรรม เพราะเป็นหลักประกันว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมมีคุณภาพดี มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการ ในข้อกําหนดของมาตรฐาน การรับรองระบบคุณภาพต่างๆ จะมีข้อกําหนดข้อหนึ่งที่ระบุว่าเครื่องมือวัดที่ใช้ในระบบต้องได้รับการรับการสอบเทียบอย่างถูกต้อง มาตรวิทยาที่ได้นำไปใช้งานด้านการกำหนดมาตรฐานนี้ เรามักจะได้ยินจนคุ้นหูกันดี ในชื่อมาตรฐาน ISO ต่างๆ เช่น

          ISO 9001 คือ การรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าผลการวัดนั้น สามารถยอมรับได้อย่างเป็นทางการ คำนี้ได้ยินบ่อยมาก เพราะใช้ในการโฆษณาด้วย และยังมี ISO 14000 คือ มาตรฐานที่ใช้ในการรับรองระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าได้ผลการตรวจวัดถูกต้อง

          ส่วนอย่างสุดท้ายที่อาจจะผ่านหูผ่านตา ตอนไปโรงพยาบาลหรือเจอตามหน้าเว็บไซต์ของโรงพยาบาลใหญ่ๆ ที่กล่าวว่าผ่านมาตรฐาน HA (Hospital Accreditation) ซึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า โรงพยาบาลนี้มีการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาลแล้ว วางใจได้ หายห่วง

          กล่าวโดยสรุปได้ว่า ระบบมาตรวิทยาเกิดจากปัญหาด้านการแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือบริการบางอย่างระหว่างมนุษย์ที่มีเกณฑ์การประเมินสิ่งของหรือบริการหนึ่งๆต่างกันทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในด้านความได้เปรียบเสียเปรียบในการซื้อขาย

          ดังนั้น มาตรวัดวิทยาจึงเป็นวิชาที่จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายนี้ประเมินและเปรียบเทียบสิ่งของและบริการดังกล่าวง่ายขึ้น เพราะมีการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาอ้างอิง เมื่อทุกฝ่ายยอมการประเมินภายใต้ตัวชี้วัดเดียวกัน และบังคับใช้เป็นมาตรฐานสากลด้วยแล้ว ก็ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกสามารถตีมูลค่าของสิ่งของหรือบริการที่ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้อย่างราบรื่นภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับร่วมกัน

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. มาตรวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 04 เมษายน 2563. จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/3383-metrology

สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ. คลังความรู้มาตรวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 04 เมษายน 2563. จาก http://www.nimt.or.th/main/?page_id=30280

สมาคมมาตรวิทยาแห่งประเมศไทย. บทที่ 2 ระบบการวัด. สืบค้นเมื่อวันที่ 04 เมษายน 2563. จาก http://www.mst.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539674770

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
มาตรวัดวิทยา,การชั่ง ,การตวง ,การวัด
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 07 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ยารินดา อรุณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11498 “มาตรวัดวิทยา” คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง /article-technology/item/11498-2020-04-21-08-27-18
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ความสมดุลกับปริมาณน้ำในร่างกายมนุษย์
ความสมดุลกับปริมาณน้ำในร่างกายมนุษย์
Hits ฮิต (3233)
ให้คะแนน
น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลล์พืช เซลล์สัตว์ และเซลล์ในร่างกายมนุ ...
เป็นหวัดเจ็บคอ กินยาฆ่าเชื้อหรือยาแก้อักเสบ อย่างไหนกันแน่
เป็นหวัดเจ็บคอ กินยาฆ่าเชื้อหรือยาแก้อัก...
Hits ฮิต (31178)
ให้คะแนน
เป็นไข้หวัด ต้องกินยาฆ่าเชื้อหรือยาแก้อักเสบ ใช้ยาอย่างไหนกันแน่ เป็นคำถามยอดฮิต ก่อนอื่นขอให้ทำควา ...
แผ่นดินไหวเปลี่ยนน้ำ ให้เป็น "ทอง"
แผ่นดินไหวเปลี่ยนน้ำ ให้เป็น "ทอง"
Hits ฮิต (14580)
ให้คะแนน
เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่า? สายแร่ทองคำ หรือแหล่งแร่ทองคำที่เราพบกันใต้ดินนั้นมาจากไหน เกิดขึ้นมาได้อย ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)