logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • ทฤษฎีการแจกของขวัญของซานตาคลอส

ทฤษฎีการแจกของขวัญของซานตาคลอส

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 25 ธันวาคม 2560
Hits
21116

 ทฤษฎีการแจกของขวัญของซานตาคลอส

          ความลึกลับของทฤษฏีวิธีการแจกของขวัญของซานตาคลอสโดยอาศัยกวางเรนเดียร์ในการส่งของขวัญให้กับเด็กๆ กว่าล้านคนให้แล้วเสร็จได้ภายในคืนเดียวอย่างไร้ร่องรอยนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยกฎของฟิสิกส์และทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ภาพซานตาตลอส ขี่กลางเลยเดียร์ แจกของขวัญ

ภาพที่ 1 รูปซานตาครอสกับกวางเรนเดียร์ ที่มา

https://www.shutterstock.com/image-vector/santa-claus-sleigh-reindeer-sled-on-531651565

          ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์อธิบายได้ว่า ซานตาคลอสที่เด็กๆ ตั้งหน้าตั้งตารอคอยทุกเทศกาลคริสต์มาสปีนลงไปในปล่องไฟอย่างพอดิบพอดีตัวแม้ว่าในแต่ละบ้านจะมีขนาดของปล่องไฟที่แตกต่างกันโดยที่ไม่มีใครมองเห็นหรือได้ยินเสียงได้อย่างไร ซึ่งคำตอบที่จะได้ทราบดังต่อไปนี้เป็นคำตอบเพียงส่วนเดียวสำหรับการศึกษา ยังคงมีปริศนาอื่นๆ ที่รอให้นักวิทยาศาสตร์ค้นหาคำตอบอยู่ในอนาคต

         นักวิทยาศาสตร์บางท่านให้เหตุผลว่า การโกหกเด็กเกี่ยวกับแหล่งที่มาของของขวัญในถุงเท้าหน้าประตูห้องเช้าวันคริสต์มาสอาจมีผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบ แต่สำหรับท่านอื่นๆ การยอมรับตำนานของลุงหนวดขาวสวมชุดสีแดงแจกของขวัญปีละครั้งนั้นถือเป็นโอกาสสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีสัมพันธภาพซานตาคลอส

ภาพซานตาตลอส แจกของขวัญ

ภาพที่ 2 รูปซานตาคลอส
ที่มา https://www.shutterstock.com/search/santa+claus?

          ทุกๆ  ปีในช่วงเวลานี้  นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะอธิบายแง่มุมต่างๆ ในเรื่องราวของซานตาคลอส และแม้จะพบเพียงแค่บางส่วนของเรื่อง  แต่ความพยายามนี้ก็เป็นโอกาสในการเปิดเผยความมหัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ และดอกเตอร์เคธี ชีน (Katy Sheen) จากมหาวิทยาลัย Exeter ก็เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบว่า หลากหลายองค์ประกอบของตำนานที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็นสามารถเข้าใจได้ เมื่อพิจารณาถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ

ทฤษฎีสัมพันธภาพซานตาคลอส

          ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity) ถูกเสนอขึ้นในปี ค.ศ. 1905 โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในบทความเกี่ยวกับพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ (On the Electrodynamics of Moving Bodies) เป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับและได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งและเวลา โดยพิจารณาเฉพาะข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับแรง (ความเร่ง)

          ดอกเตอร์ชีนคำนวณความเร็วในการเดินทางของซานตาจากจำนวนครัวเรือนที่กำลังเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสทั่วโลกพร้อมกับคาดการณ์จำนวนของเด็กที่อยู่ในครอบครัวเหล่านั้นได้ว่า การไปเยี่ยมเด็กๆ ราว 700 ล้านคนในระยะเวลา 31 ชั่วโมง (การคำนวณคำนึงถึงโซนเวลาทั่วโลก) หมายความว่า ซานตาและกวางขนาดใหญ่ของเขาจะต้องเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 10 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง และด้วยความเร็วขนาดนี้ ทำให้ซานตาคลอสหดตัวและลอดลงมาทางปล่องไฟได้

ภาพทฤษฎีสัมพันธภาพซานตาคลอส

ภาพที่ 3 การหดตัวของความยาวในกรอบอ้างอิงของผู้สังเกตและซุปเปอร์แมน
ที่มา https://www.nobelprize.org/

          จากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ (มีมวล) ความยาวของวัตถุที่วัดได้จะหดสั้นลงในทิศทางของการเคลื่อนที่ และยิ่งวัตถุใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่ในระดับที่ใกล้เคียงกับความเร็วแสง ความยาวที่วัดได้ก็จะยิ่งหดสั้นลง ซึ่งเฉพาะผู้สังเกตที่อยู่ในกรอบอ้างอิงที่แตกต่างจากกรอบอ้างอิงของวัตถุเท่านั้นที่จะตรวจจับการหดตัวได้ แต่สำหรับมุมมองของกรอบอ้างอิงของวัตถุ ความยาวจะยังคงเดิม ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การหดสั้นของความยาว (Length contraction) หรือการหดสั้นของลอเรนซ์ (Lorentz contraction) เช่น  จากภาพที่ 3  หากคุณเป็นผู้สังเกต จะมองเห็นซุปเปอร์แมนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้แสง ในลักษณะที่ความยาวของตัวซุปเปอร์แมนหดสั้นลงในทิศทางที่เขาเคลื่อนที่ แต่สำหรับมุมมองของตัวซุปเปอร์แมนเองนั้น เขาจะมองเห็นสิ่งรอบตัวของเขาหดสั้นลง ในขณะที่มองเห็นตัวเองปกติดี

          นอกจากนี้ดอกเตอร์ชีนยังเปิดเผยอีกว่า เมื่อครั้งที่เธออายุ 7 ขวบ เธอได้เขียนจดหมายถึงซานตาคลอสด้วยคำถามที่ว่า ทำไมเขาถึงดูไม่แก่ลงเลย?  และเธอได้รับการตอบกลับที่เขียนด้วยลายมือว่า ‘all magic’ แต่สำหรับนักฟิสิกส์รุ่นใหม่อย่างเธอแล้วคำตอบนั้นไม่อาจโน้มน้าวให้เชื่อได้อย่างสนิทใจ แต่ยังนำมาซึ่งการค้นพบคำตอบที่มีเหตุผลในอีก 26 ปีต่อมา

การยืดของเวลา (Time dilation)

          คำตอบของคำถามดังกล่าวคือ การยืดของเวลา (Time dilation) ส่วนหนึ่งของทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์เช่นเดียวกัน โดยอธิบายได้ว่า เวลาที่ล่วงไปขึ้นกับความเร็วสัมพัทธ์ของกรอบอ้างอิงของผู้สังเกตที่แตกต่างกัน กล่าวคือวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ใกล้เคียงกับความเร็วแสงมาก เวลาก็จะยิ่งช้าลง เมื่อเทียบกับเวลาของวัตถุอื่นที่หยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ช้ากว่า เช่นว่าเมื่อซานตาคลอสเดินทางส่งของขวัญให้แก่เด็กๆ ด้วยความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง นั่นหมายความว่า เวลาของซานตาคลอสจะเดินปกติในกรอบเวลาของซานตาคลอสเอง แต่จะเดินเร็วกว่าเวลาของเด็กๆ ที่อยู่ในบ้านหรืออยู่ในห้องนอนที่ไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ช้ากว่า ด้วยเหตุนี้จึงอธิบายได้ว่า ทำไมซานตาคลอสดูไม่แก่ลงเลยทั้งที่แจกของให้เด็กๆ มานานเป็นร้อยปี

          ความเร็วที่ซานตาคลอสใช้ในการส่งของขวัญทั่วโลกจะทำให้เขาเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว และหากว่า เด็กคนใดเป็นเด็กดีที่สมควรได้รับของขวัญมากกว่าคนอื่น ซานตาก็อาจจะต้องเพิ่มความเร็วให้มากขึ้น และด้วยความเร็วที่สูงขึ้นจากเดิมนี้ในท้ายที่สุด เขาก็จะค่อยๆ หายตัวไปเช่นภาพของสายรุ้งที่ค่อยๆ จางหายไปจากสายตาของมนุษย์  เด็กๆ จึงไม่ทันได้เอ่ยคำทักทายต่อเขา กรณีเช่นนี้สามารถอธิบายได้ด้วยปรากฎการณ์  Doppler effect

ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler effect)

          ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler effect) เป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของความยาวคลื่นหรือความถี่ เนื่องจากความสัมพัทธ์ระหว่างผู้สังเกตกับทิศทางการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดคลื่น โดยจะเริ่มต้นด้วยการอธิบายถึงคลื่นสองชนิดนั่นคือ คลื่นแสงและคลื่นเสียง

          หากแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ผู้สังเกต คลื่นจะถูกบีบอัด ช่วงคลื่นจะห่างกันน้อยลง ความยาวคลื่นจะลดลง (ความถี่สูงขึ้น)  ซึ่งหากเป็นคลื่นแสง ความยาวคลื่นที่ลดลงจากแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ จะทำให้แสงเลื่อนไปทางสีน้ำเงินของสเปกตรัม (Blue shift) และเมื่อคลื่นแสงเคลื่อนที่ห่างออกไปก็จะเลื่อนไปทางสีแดงของสเปกตรัม (red shift) สำหรับการมองเห็นของผู้สังเกต จะมองเห็นแหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่เข้าและออกจากตัวในระดับสายตาเท่านั้น แต่ด้วยความเร็วของซานตาคลอสแล้ว ไม่มีทางที่เราจะได้เห็นตัวจริงของเขาแน่นอน

ภาพปรากฏการณ์ Doppler effect ของคลื่นแสง

ภาพที่ 4 ปรากฏการณ์ Doppler effect ของคลื่นแสง
ที่มา http://web2.uwindsor.ca/

          คลื่นเสียงก็เช่นเดียวกัน เมื่อแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่เข้ามาใกล้จะทำให้เราได้ยินเสียงแหลมสูง และเสียงจะเริ่มทุ้มจนจางหายเป็นความเงียบสนิทเมื่อคลื่นเสียงนั้นเคลื่อนที่ผ่านและเริ่มห่างออกไป (เช่นการเคลื่อนที่ของรถตำรวจที่ติดไซเรน) ซึ่งสำหรับการเคลื่อนที่ของซานตาคลอส การลงจอดของรถเลื่อน หรือแม้แต่เสียงกระดิ่งและเสียงหัวเราะทุ้มลึก “Ho Ho Ho” เด็กๆ คงจะได้ยินแค่ในเพลง Merry Christmas

          แต่หากเด็ก ๆ คนใดได้ยินเสียงดังในคืนวันก่อนคริสต์มาส  เสียงนั่นอาจไม่ใช่เสียงของซานตาที่กำลังหย่อนของขวัญหรือการปืนลงมาทางปล่องไฟ แต่อาจเป็นเสียงที่เกิดจากคลื่นกระแทก (Shock waves) ที่เกิดจากกวางเรนเดียร์ที่เร่งความเร็วให้เคลื่อนผ่านอากาศเร็วกว่าความเร็วเสียงที่เรียกว่า Sonic boom

          อย่างไรก็ตาม นักฟิสิกส์ท่านนี้ยังไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องของมวลเชิงสัมพัทธภาพได้ แต่ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคำอธิบายเกี่ยวกับการจัดการกับการส่งมอบของขวัญของซานตานี้จะทำให้เขามีตัวตนเพื่อเติมแต่งจินตนาการของเด็กๆ และสร้างแรงบันดาลใจต่อความสนใจวิทยาศาสตร์และฟิสิกส์มากขึ้น

แหล่งที่มา

Mysteries of Father Christmas ‘solved’ by relativity theory. สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2560. จาก
        http://www.exeter.ac.uk/news/featurednews/title_558233_en.html

Einstein's Theory of Relativity explains how Father Christmas can fit down a chimney and deliver all his gifts in one night.
สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2560. จาก
        https://www.telegraph.co.uk/science/2016/12/14/einsteins-theory-relativity-explains-father-christmas-can-fit/

How Special Relativity works. สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2560. จาก

        https://science.howstuffworks.com/science-vs-myth/everyday-myths/relativity8.htm

Lorentz Contraction. สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2560. จาก
        https://www.nobelprize.org/educational/physics/relativity/transformations-2.html

Doppler Effect. สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2560. จาก
        http://www.lesa.biz/astronomy/light/doppler-effect

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ซานต้า, ทฤษฎีสัมพัทธภาพ,ฟิสิกส์,ลึกลับ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7571 ทฤษฎีการแจกของขวัญของซานตาคลอส /article-physics/item/7571-2017-10-17-01-56-15
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เส้นใยนำแสง (Fiber Optic)
เส้นใยนำแสง (Fiber Optic)
Hits ฮิต (49991)
ให้คะแนน
เส้นใยนำแสง (Fiber Optic) จากที่ในช่วงหลังมานี้ผู้ให้บริการ internet ได้เริ่มตีตลาดลูกค้าโดยการเสนอ ...
Helical Engine เครื่องยนต์ที่จะพาเราข้ามอวกาศ
Helical Engine เครื่องยนต์ที่จะพาเราข้าม...
Hits ฮิต (8913)
ให้คะแนน
ครั้งหนึ่ง “เครื่องจักรไอน้ำ” ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลงโลกเราไปตลอดกาล ต่อมาการเกิด ...
Julian Seymour Schwinger
Julian Seymour Schwinger
Hits ฮิต (19589)
ให้คะแนน
...Julian Seymour Schwinger.... สุทัศน์ ยกล้าน ศ.ดร.คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรตประสาน ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)