logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • อนาคตพลังงานลมจากปีกนก

อนาคตพลังงานลมจากปีกนก

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 22 พฤศจิกายน 2560
Hits
18988

          นกฮูกหรือนกเค้าแมว หนึ่งในนักล่าตัวฉกาจที่สามารถโจมตีเหยื่อได้เงียบที่สุดในโลก ซึ่งเบื้องหลังของพฤติกรรมลึกลับของสัตว์ชนิดนี้อยู่ที่โครงสร้างพิเศษของปีกที่ทำให้บินได้อย่างไร้เสียง และเคลื่อนไหวผ่านอากาศได้โดยที่ไม่ทำให้เกิดกระแสลม  จากคุณสมบัตินี้เองได้เป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์พัฒนานวัตกรรมที่เงียบสงัดสำหรับการสร้างพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

7570 1

ภาพที่ 1 นกฮูก
ที่มา dannymoore1973/Pixabay

          โครงสร้างที่ซับซ้อนของปีกในการทำให้อากาศไหลผ่านอย่างนุ่มนวลและช่วยกระจายเสียงเพื่อไม่ให้เหยื่อได้ยินเสียงจากการโจมตีนั้นเกี่ยวข้องกับลักษณะสำคัญได้แก่ ความยืดหยุ่นของขนแข็งที่มีลักษณะเป็นซี่หวีบริเวณขอบหน้าและขอบหลังของปีก และขนอ่อนนุ่มที่ปกคลุมบริเวณด้านบน  และด้วยลักษณะข้างต้นศาตราจารย์  Hao Liu และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Chiba ประเทศญี่ปุ่นจึงได้สร้างแบบจำลองของปีกขึ้นสำหรับการทดลองเพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับคุณสมบัตินี้ต่อแรงทางอากาศพลศาสตร์และการลดลงของเสียงรบกวน

7570 2

ภาพที่ 2 คุณลักษณะที่สำคัญที่ช่วยลดเสียงรบกวนบนปีกของนกเค้าแมว 
ที่มา J. W. Jaworski, I. Clark

          ทีมนักวิจัยพบว่า  ขนแข็งที่มีลักษณะเป็นรอยหยักบริเวณขอบด้านหน้าของปีกนกฮูกควบคุมการเปลี่ยนแปลงระหว่างการไหลของอากาศที่แปรปรวนและทิศทางลม จึงได้สร้างแบบจำลองของปีกที่ทั้งมีและไม่มีลักษณะของรอยหยักดังกล่าวเพื่อทำการทดสอบในการจำลองการไหลของอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นมาตรฐานแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการศึกษาการไหลของอากาศ รวมทั้งในอุโมงค์ลม (low-speed wind tunnel) ที่ใช้การวัดความเร็วของอนุภาคจากภาพถ่าย (PIV; Particle image velocimetry) และการวัดแรงในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นมาตรฐาน

          ผลการทดลองปรากฏว่า แบบจำลองที่มีการเลียนแบบลักษณะของปีกส่วนหน้าของนกเค้าแมวสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงระหว่างการไหลของอากาศที่คงที่และการไหลของอากาศที่แปรปรวนที่ไหลผ่านพื้นผิวด้านบนของปีกในบริเวณของมุมปะทะ (AOA; angles of attack) โดยเมื่อมุมปะทะกับอากาศมากว่า 15 องศา รอยหยักบริเวณด้านหน้าของปีกจะช่วยให้การปะทะของปีกกับการไหลของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอและทิศทางลมเป็นไปอย่างราบรื่น เป็นผลให้เกิดเสียงที่เบาลงและมีประสิทธิภาพทางอากาศพลศาสตร์ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามมุมที่น้อยกว่า 15 องศา จะลดประสิทธิภาพทางอากาศพลศาสตร์ลงและก่อให้เกิดเสียงรบกวนตามมา

7570 3

ภาพที่ 3 มุมปะทะ
ที่มา en.wikipedia.org/

          สำหรับการนำแนวคิดนี้ไปใช้กับกังหันลมในฟาร์มลมขนาดใหญ่ ปีกเครื่องบิน หรือสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องยังคงเป็นเรื่องที่ยังต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป แต่ด้วยพื้นฐานของเทคโนโลยีรูปแบบใหม่นี้อาจช่วยลดข้อโต้แย้งในเรื่องของเสียงรบกวนในชุมชนท้องถิ่นลงได้ หากต้องมีการสร้างฟาร์มลมในพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่นอกชายฝั่ง

แหล่งที่มา

Owl Wings Could Teach Us to Make Quieter Turbines And Aircraft. สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2560. จาก 
         https://www.sciencealert.com/how-owl-wings-could-teach-us-how-to-make-quieter-turbines-and-aircraft

Windpower's Future Rides On The Wings Of Owls And Dragonflies. สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2560. จาก
         http://www.iflscience.com/physics/windpowers-future-rides-on-the-wings-of-owls-and-dragonflies/

Coating Inspired By Owl Wings Quiets Wind Turbines. สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2560. จาก
         https://www.popsci.com/future-silent-owl-wing-inspired-wind-turbines

Silent Owl Wings. สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2560. จาก
         https://www.eurekalert.org/multimedia/pub/64901.php

Angle of attack. สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2560. จาก 
         https://en.wikipedia.org/wiki/Angle_of_attack

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พลังงาน, ลม, พลังงานลม, พลังงานทดแทน
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7570 อนาคตพลังงานลมจากปีกนก /article-physics/item/7570-2017-10-17-01-46-13
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ได้ยินหรือไม่ได้ยิน ทดสอบกันอย่างไร
ได้ยินหรือไม่ได้ยิน ทดสอบกันอย่างไร
Hits ฮิต (26508)
ให้คะแนน
หู อวัยวะสำคัญสำหรับการได้ยิน 1 ใน 5 อวัยวะประสาทสัมผัสของมนุษย์เรา วันนี้มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับอาก ...
เครื่องบินถอยหลังได้หรือไม่
เครื่องบินถอยหลังได้หรือไม่
Hits ฮิต (17238)
ให้คะแนน
มีใครเคยเห็นเครื่องบินถอยหลังบ้าง? เวลาไปสนามบินเคยสังเกตกันรึเปล่า ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านที่เห็นคำ ...
ยิ่งสูงทำไมอากาศยิ่งหนาวทั้ง ๆ ที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น
ยิ่งสูงทำไมอากาศยิ่งหนาวทั้ง ๆ ที่ใกล้ดว...
Hits ฮิต (21046)
ให้คะแนน
ภาพที่ 1 Everest Mountain ที่มา https://pixabay.com/th/ ,lutz6078 ก่อนอื่น ถ้าใครที่เคยถามคำถามนี้ไ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)