logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • Bioplastics คืออะไรกันแน่

Bioplastics คืออะไรกันแน่

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 24 มิถุนายน 2563
Hits
9222

          พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) คือพลาสติกยุคใหม่ที่มีวัตถุดิบในการผลิตพื้นฐานส่วนใหญ่เป็นพืช (Biobased) โดยอาจจะมีคุณสมบัติในการย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodegradable) หรือไม่ก็ได้

11334

ภาพกองขยะวัสดุที่ทำจากพลาสติก
ที่มา https://pixabay.com, RitaE

          Biobased คือ พลาสติกที่มีส่วนผสมหลักในการผลิตคือพืช หรือก็คือเป็นพลาสติกที่ทำมาจากพืช เช่น อ้อยหรือข้าวโพด ที่เป็นวัตถุดิบทดแทน ซึ่งจะไม่เหมือนกับพลาสติกที่เราใช้กันในอดีตที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์จากการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อให้ได้เม็ดพลาสติก

          Biodegradable  คือ ความสามารถในการสลายตัวทางชีวภาพที่เกิดจากกระบวนการทางเคมี ซึ่งอาจจะเป็นจุลินทรีย์ แบคทีเรีย หรือทางชีวภาพอื่น ๆ ที่เป็นตัวการหลักของการเปลี่ยนรูปแบบของวัสดุประเภทหนึ่งไปเป็นสารทางธรรมชาติ เช่น น้ำ หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยการย่อยสลายทางชีวภาพนี้จะมีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น สภาพแวดล้อม (อุณหภูมิ, ความดัน)

Biobased จึงแตกต่างกับ Biodegradable

          คุณสมบัติในการย่อยสลายได้ทางชีวภาพไม่ได้จำกัดอยู่กับวัสดุพลาสติกที่ผลิตมาจากพืชเท่านั้นแต่มันขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางเคมีเป็นหลัก ดังนั้น พลาสติกที่ทำมาจากพืชอาจจะไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ทั้งหมด ส่วนพลาสติกที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบอาจจะมีความสามาถในการย่อยสลายทางชีวภาพได้

ประโยชน์ของพลาสติกชีวภาพ

          พลาสติกชีวภาพคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับรูปแบบการผลิตพลาสติก โดยพลาสติกชีวภาพมีประโยชน์หลัก ๆ เบื้องต้น 3 ข้อ ที่ควรทราบคือ

  1. ถ้าหากเราเทียบปริมาณการใช้น้ำมันในการผลิตพลาสติกชีวภาพกับพลาสติกที่ได้จากการกลั่นน้ำมันนั้น จะพบว่าพลาสติกชีวภาพถลดการใช้น้ำมันในการผลิตลงได้อย่างมหาศาล ทำให้บริษัทผู้ผลิตพลาสติกมีศักยภาพที่จะเป็น Carbon neutrality ได้ (องค์กร ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมที่มีการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเท่ากับศูนย์)

  2. ในการเพิ่มคุณสมบัติจาก พลาสติกธรรมดา ให้เป็น พลาสติกชีวภาพ เป็นการเพิ่มคุณสมบัติที่น่าสนใจให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนช่วยในการรักษ์โลกแต่ก็ยังมีความจำเป็นต้องใช้งานพลาสติกต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในกิจวัตรประจำวัน เพราะพลาสติกประเภทนี้สามารถนำมารีไซเคิล (recycle) ได้ นับว่าเป็นการเพิ่มจุดขายทางการตลาดที่น่าสนใจ

  3. เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ด้วยการใช้ผลผลิตทางการเกษตรอย่างอ้อยหรือข้าวโพด ที่ต้องมีการเพาะปลูกอยู่เป็นประจำทุกปีให้สามารถใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการช่วยสนับสนุนเกษตรกรให้มีช่องทางหารายได้เพิ่มอีกด้วย

ประเภทของ Bioplastics

          การจัดกลุ่มของ Bioplastics นั้นสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. พลาสติก Biobased หรือ Partly biobased ที่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ (non-biodegradable plastics) ตัวอย่างเช่นพลาสติกชีวภาพ polyethylene (PE) , polypropylene (PP) หรือ Polyethylene Terephthalate (PET)

  2. พลาสติกที่เป็นทั้งพลาสติกชีวภาพและยังสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ (Biobased & Biodegradable plastics) ตัวอย่างเช่น พลาสติก poly(lactic acid) (PLA) ,Polyhydroxyalkanoates  (PHA), Poly(butylene succinate) (PBS)

  3. พลาสติกที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน (Fossil resources) และสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ตัวอย่างเช่น Polybutylate adipate terephthalate (PBAT)

กระบวนการย่อยสลายแบบอื่นของพลาสติก

          พลาสติกที่ย่อยสลายได้ไม่ได้มีแค่ Biodegradable Plastic เท่านั้น โดยถ้าเราแบ่งประเภทของพลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามกลไกการย่อยสลายเป็น 4 ประเภท จะแบ่งได้ดังนี้

  1. มีพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยแสง (Photodegradation) การย่อยสลายโดยแสงมักเกิดจากการเติมสารเติมแต่งที่มีความว่องไวต่อแสงลงในพลาสติกเพื่อทำลายพันธะเคมีของพลาสติก หรือสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ให้มีหมู่ฟังก์ชันหรือพันธะเคมีที่ไม่แข็งแรงเพื่อให้แตกหักได้ง่ายเมื่อได้รับแสง (รังสียูวี) แต่วิธีการย่อยสลายแบบนี้จะไม่สามารถทำได้กับบ่อฝังกลบขยะที่ไม่ได้รับแสงตลอดเวลา หรือกองขยะที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มืด เนื่องจากจะไม่ได้รับรังสียูวีโดยตรง

  2. การย่อยสลายทางกล (Mechanical Degradation) เป็นวิธีการทั่วไปที่ทำให้พลาสติกแตกออกเป็นชิ้นที่เล็กลงด้วยการใส่แรงลงไป

  3. การย่อยสลายโดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Degradation) เป็นปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนลงในโมเลกุลของพอลิเมอร์ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติอย่างช้า ๆ โดยมีออกซิเจน และความร้อน แสงยูวี หรือแรงทางกลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแตกหักและสูญเสียสมบัติเชิงกลอย่างรวดเร็ว

  4. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolytic Degradation) เป็นปฏิกิริยาก่อให้เกิดการแตกหักของสายโซ่พอลิเมอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้คะตะลิสต์ (Catalytic hydrolysis) และไม่ใช้คะตะลิสต์ (Non-Catalytic Hydrolysis)

           ในความเป็นจริงแล้วพลาสติกถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า แต่ด้วยความที่มันใช้ง่าย สะดวกใช้ สะดวกทิ้ง จึงทำให้ขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ทั้งโลกต้องให้ความสนใจแก้ไข ดังนั้นถ้าผู้ใช้อย่างเราจะเริ่มแยกขยะ และทิ้งให้ถูกที่ถูกทางก็จะช่วยลดปัญหานี้ลงไปได้

แหล่งที่มา

European bioplastics. Bioplastics market data.  Retrieved Jan 16, 2020 from https://www.european-bioplastics.org/market/

European bioplastics. What are bioplastics?.  Retrieved Jan 16, 2020 from https://docs.european-bioplastics.org/2016/publications/fs/EUBP_fs_what_are_bioplastics.pdf

Chris Woodford. (November 1, 2019). Bioplastics and biodegradable plastics.  Retrieved Jan 16, 2020 from https://www.explainthatstuff.com/bioplastics.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Bioplastics, พลาสติก, Biodegradable,พลาสติกที่ทำจากพืช
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 16 มกราคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11334 Bioplastics คืออะไรกันแน่ /article-physics/item/11334-bioplastics
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
กำเนิด...แปรงสีฟัน
กำเนิด...แปรงสีฟัน
Hits ฮิต (18655)
ให้คะแนน
เชื่อหรือไม่คะว่า?.... "ประวัติของแปรงสีฟันมีจุดเริ่มต้นกำเนิดมาจากในคุก" เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1770 ใ ...
เมื่อไหร่? คนเราเริ่มหลงลืม เรื่องง่ายๆก...
Hits ฮิต (14160)
ให้คะแนน
 
เผย แอสไพริน ยาขายดีที่สุดในโลก
เผย แอสไพริน ยาขายดีที่สุดในโลก
Hits ฮิต (15134)
ให้คะแนน
ประวัติศาสตร์การแพทย์ได้บันทึกว่า ในอดีตเมื่อ 2,440 ปีก่อนนี้ Hippocrates ได้เคยให้คนไข้ที่มีอาการเ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)